ประเภทภูมิปัญญาไทย
ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นแบ่งไว้ 10 กลุ่มดังนี้
2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม หมายถึง
การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลิตผล
เพื่อชะลอการนำเข้าตลาดเพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด
และเป็นธรรม
อันเป็นกระบวนการที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้
ตลอดทั้งการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลทางหัตถกรรม เช่น การรวมกลุ่มของกลุ่มหัตถกรรม
กลุ่มโรงสี เป็นต้น
3. สาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง
ความสามารถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน
โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้ เช่น
การดูแลและรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้านและแผนโบราณไทย การนวดแผนโบราณ เป็นต้น
4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมายถึง ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนา
และการใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
เช่น การอนุรักษ์ป่าชายเลน การทำแนวปะการังเทียม การจัดการป่าต้นน้ำและป่าชุมชน
เป็นต้น
5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง
ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการบริการและสะสมกองทุน และธุรกิจในชุมชน
ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน
เช่น การจัดการเรื่องกองทุนของชุมชนในรูปของสหกรณ์ออมทรัพย์ และธนาคารหมู่บ้าน
เป็นต้น
6. สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการ การประกันคุณภาพชีวิต ให้เกิดความมั่นคงในการดำเนินชีวิตของคนในสังคม
ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เช่น
การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของชุมชน การจัดระบบสิ่งแวดล้อมในชุมชน
เป็นต้น
7. สาขาศิลปกรรม หมายถึง
ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม
สถาปัตยกรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ ศิลปะมวยไทย เป็นต้น
8. สาขาการจัดการองค์กร หมายถึง
ความสามารถในการบริหารจัดการดำเนินงานขององค์กรชุมชนต่างๆ ให้สามารถพัฒนา
และบริหารองค์กรของตนเองได้ตามบทบาท และหน้าที่ขององค์การ เช่น
การจัดการองค์กรกลุ่มสวนยางพารา กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มประมงพื้นบ้าน
เป็นต้น
9. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง
ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษา ทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทยและการใช้ภาษา
ตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท เช่น การจัดทำสารานุกรมภาษาถิ่น
การรวบรวมหนังสือโบราณ การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่างๆ เป็นต้น
10. สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา ความเชื่อ
และประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่า ให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติ
ให้บังเกิดผลดีต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักธรรมทางศาสนา การบวชป่า
การนำวัสดุธรรมชาติมาใช้ในประเพณีลอยกระทง เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น