วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

ความหมายเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่

         เศรษฐกิจพอเพียง   เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ทรงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงหรือพอมีพอกินในปี พ.ศ.  2537 โดยทรงพระราชทานแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักในความสำคัญสำหรับนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เน้นการพึ่งพาตนเอง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถครอบคลุมภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ตลอดจนการดำเนินชีวิตของพสกนิกรทุกกลุ่มอาชีพซึ่งพระองค์ได้ทรงทดลองจนเป็นที่ประจักษ์ว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่มีความเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันและอนาคต


รูปที่ 1 ตัวอย่างของเศรษฐกิจพอเพียง
                                                                                                                                              ที่มา : http://www.ditdru.ac.th
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงย้ำเน้นแนวทางแก้ไขเพื่อให้ยู่รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ จากเอกสารในการประชุม "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับเศรษฐกิจพอเพียง" สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (เมษายน 2543) ซึ่งได้ประมวลกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง"เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งพระราชทานในโอกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  ได้กล่าวถึงเศรษฐกิจพอเพียง ไว้ดังนี้
ความหมายเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ     หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชกระแสรับสั่งแนะแนวทางการดำเนินชีวิต โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง นับเนื่องมาจนถึงวันนี้ก็เป็นเวลา 1 ขวบปีพอดี วิกฤตการณ์เศรษฐกิจของประเทศก็ยังคงอยู่ สมควรที่พวกเราได้ทบทวนพระราชกระแสกันอีกสักครั้ง เพื่อให้พวกเราได้ “ใจดี สู้เสือ” กันต่อไป เพื่อนำให้ตัวเราและชาติบ้านเมืองได้ผ่านมรสุมร้ายที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ด้วยสติที่มั่นคง ปัญญาที่เฉียบแหลม และด้วยความรู้ ความเข้าใจ อย่างลึกซึ้ง เพื่อปรับวิถีชีวิตของพวกเราชาวไทยให้ยึดมั่นแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างและยึดมั่นวิถีชีวิตไทย อันนำมาสู่พวกเราชาวไทยทุกหมู่เหล่าต่อไป ชั่วกาลนาน
ความหมาย : เศรษฐกิจพอเพียง
          - เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่ง ๆในการผลิตสินค้าและบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้น ๆ ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่างๆ ที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ- เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลนั้น คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน มีความเป็นอยู่อย่างประมาณตน ตามฐานะ ตามอัตภาพ และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยม มีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด
         - หากกล่าวโดยสรุป คือ หันกลับมายึดเส้นทางสายกลางในการดำรงชีวิตหลักการพึ่งตนเอง
 ด้านจิตใจ ทำตนให้เป็นที่พึ่งตนเอง มีจิตสำนึกที่ดี สร้างสรรค์ให้ตนเองและชาติโดยรวม มีจิตใจ เอื้ออาทร ประนีประนอม เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
ด้านสังคม แต่ละชุมชนต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เชื่อมโยงกัน เป็นเครือข่ายชุมชนที่แข็งแรง
เป็นอิสระ
ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง
             เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทรงเน้นความสำคัญของการพัฒนาประเทศ  ซึ่งจะต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยวิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ทรงมีพระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย ทรงเน้น พอมีพอกินอีกครั้ง
        เหตุผลสำคัญที่ทรงมีพระบรมราโชวาทเช่นนั้นเนื่องจากประเทศไทยได้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมา เน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่อุตสาหกรรมเป็นหลัก  โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่เป็นเงินกู้จากต่างประเทศ  ซึ่งจำเป็นต้องชำระหนี้ด้วยการส่งสินค้าออกทางการเกษตร  เป็นผลให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก  พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายลงผลที่ตามมาคือเศรษฐกิจของประเทศขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว  ในขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาช่องว่างระหว่างการกระจายรายได้เพิ่มขึ้น  โดยที่ภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าภาคเกษตรขณะที่การจ้างงานไม่ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับการขยายตัวของผลผลิต ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ที่ยังคงมีอาชีพการเกษตรได้รับผลกระทบ
       ในการบรรลุเป้าหมายสุดท้ายในการสร้าง ความพออยู่พอกิน ให้กับประชาชนชาวไทยทุกคนโดยเฉพาะเกษตรกรผู้ยากไร้ในชนบท จากพระราชดำรัสในปีต่อ ๆ มา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ได้ทรงดำเนินพระราชกรณียกิจ ดังนี้
1. ปรับแก้สภาพทางกายภาพของพื้นดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก
2. เน้นความสามารถในการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีโดยเน้นความประหยัดแต่ถูกหลักวิชาการ
3. ส่งเสริมการผลิตที่หลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยง และช่วยให้เกิดกระแสรายได้ที่เหมาะสม
4. ส่งเสริมสถาบันหรือองค์กรของเกษตรกรเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา
5. ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตร


รูปที่ 2 ตัวอย่างของเศรษฐกิจพอเพียง

                                                                                                             ที่มา : ครูสุรนาถ ปูชนียพงศก
     
         หลังจากนั้นได้ทรงค้นคว้าทดลองอย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 4 ธันวาคม พ .ศ.  2537 ได้ทรงเผยแพร่ “ทฤษฎีใหม่”  ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียงในปี พ.ศ. 2539 ทรงเตือนผู้ที่เกี่ยวข้องในขณะนั้น ให้ “มีความรอบคอบ” และอย่า “ตาโต”   จนกระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปีพ.ศ. 2540 จึงเป็นที่มาของพระราชดำรัสที่ว่า“การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ  สำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”  พร้อมกันนั้นทรงอธิบายต่อว่า “คำว่า พอเพียง  มีความหมายกว้างขวางกว่าความสามารถในการพึ่งตนเองหรือความสามารถในการยืนบนขาของตนเอง  เพราะความพอเพียง   หมายถึง  การที่มีความพอ  คือมีความโลภน้อย เมื่อโลภน้อยก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย   ถ้าประเทศใดมีความคิดนี้   มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่า  พอประมาณ  ซื่อตรง  ไม่โลภอย่างมาก  คนเราอาจจะสุข  พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้  แต่ต้องไม่เบียดเบียนคนอื่นปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในทุกอาชีพ ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะภาคเกษตรกรรมเท่านั้น แต่เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร  และตัวอย่างในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง การรู้จักพอประมาณ การมีเหตุผลในการตัดสินใจ รู้ว่าทำไมถึงทำ ทำอย่าง ทำแล้วจะได้อะไร การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือความสามารถในการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤต และที่สำคัญคุณธรรมนำความรู้ คือความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ เสียสละ และการยอมรับเทคโนโลยีรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสมดุล เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชีวิตที่ขับเคลื่อน ตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ให้ก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
        เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ  อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฏี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจรติและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียรมีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการ
รูปที่ 3 ตัวอย่างของเศรษฐกิจพอเพียง

                                                                                                             ที่มา : ครูสุรนาถ ปูชนียพงศก

สรุปปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
      นิยามของความพอเพียง  ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม  กันดังนี้
 ความพอประมาณ หมายถึง  ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  เช่น  การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
 การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไข  การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับความพอเพียงนั้น  ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวถือ
 เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

 เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม เช่น มีความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตไม่โลภ และไม่ตระหนี่

แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ
      จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน  พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
  ที่มา :  http://krusuranart.com/index.php/2011-11-24-13-43-57/2011-12-01-17-46-30

แนวคิดพัฒนาภูมิปัญญาไทย
          จากพระราชดำรัส เศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงมีพระบรมราโชวาทครั้งแรกในปี พ.ศ.  2517 นั้นพระองค์มีพระราชประสงค์จะให้เป็นแนวคิดนำในการพัฒนาประเทศ  เพราะถ้าย้อนกลับไปศึกษาพระบรมราโชวาทดังกล่าว  จะเห็นได้ว่า  เริ่มต้นจากความสำคัญในการพัฒนาประเทศ  จะต้องเน้นการสร้างพื้นฐาน  คือการพอมี พอกิน พอใช้”  ถึงแม้ว่าที่กล่าวถึงส่วนใหญ่จะเป็นการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร และการจัดการด้านเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทย  แต่ในความเป็นจริงพระองค์มีพระราชประสงค์ให้เศรษฐกิจพอเพียง  สามารถครอบคลุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจทุกประเภทจากการที่ทรงเน้นเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาประเทศดังกล่าวมาเป็นเวลา 27 ปี  (พ.ศ.  2517 - 2537 ) แต่กระนั้นคนส่วนใหญ่ซึ่งรวมทั้งนักวิชาการ ข้าราชการระดับสูงเป็นจำนวนมาก  ก็ยังไม่เข้าใจในความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ใน ปี พ.ศ.  2541 จึงทรงเน้นประเด็นนี้อีกครั้ง   “…เมื่อปี 2517  วันนั้นได้พูดว่า  เราควรปฏิบัติให้  พอมี  พอกิน  พอมี  พอกิน  ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเอง ..
      หลังวิกฤตการทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ.  2540  ที่นักวิชาการ กล่าวว่า  เป็นวิกฤตการณ์ฟองสบู่แตกผู้คนตกงานเดินทางกลับบ้าน  และต้องหันไปพึ่งพิงทรัพยากรพื้นฐานในท้องถิ่น และประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในภาวะขวัญเสีย  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท  เน้นย้ำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นแนวทางสำหรับประชาชน  จะต้องพยายามยืนหยัดด้วยตนเองบนพื้นฐานของทรัพยากรที่มีอยู่จริง ลดการพึ่งพิงจากภายนอก  ขณะเดียวกันก็พยายามพัฒนาศักยภาพและความยั่งยืนในระบบที่ตนมีอยู่  การที่กระบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้  แต่ละหน่วยการผลิตในระบบจะต้องพยายามเข้าใจเห็นคุณค่า  และข้อจำกัดของฐานทรัพยากรในท้องถิ่นของตน จึงจะสามารถดึงคุณค่าที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งตระหนักในความจำเป็นที่จะต้องควบคุมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรนั้นในขอบเขตไม่เกินขีดจำกัด  จนอาจกลายเป็นการทำลายฐานทรัพยากรของตนไปด้วย  นั่นคือการที่ประชาชนจะต้องเข้าใจการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นในระบบเศรษฐกิจพอเพียง ภายหลังผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลได้ดำแนวคิดพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาประเทศ  จะเห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 9  (พ.ศ.  2545-2549 ) การสร้างงาน  โครงการกองทุนหมู่บ้าน  สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์   การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้  ซึ่งหลายหมู่บ้านประสบความสำเร็จเป็นแบบอย่างที่ดีในการบริหารและการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นของตนเองสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในโอกาสต่อไป 
ความเหมาะสมทั้งวันนี้และวันหน้า

        พระราชดำรัส เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม  พ.ศ.  2540   มีสาระที่สำคัญ  ในการกล่าวถึงการดำรงชีพที่ไม่เป็นไปตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  เช่น “…ขอเล่านิทานอีกเรื่อง  คือไปทางชลบุรี ครั้งหนึ่ง  ก็หลายสิบปีแล้ว  มีพ่อค้าคนหนึ่งเขาบอกว่า  เขาไปทำโรงงานสับปะรดกระป๋อง  เขาลงทุนเป็นล้าน  จำไม่ได้ว่ากี่ล้านเพื่อสร้างโรงงาน  การลงทุนอย่างนั้นเลยบอกให้เขาทราบว่า  ไม่ค่อยเห็นด้วย  เพราะว่าเคยทำโรงงานเล็ก ๆ  ที่ทางภาคเหนือใช้เงิน 300,000 บาทเพื่อเอาผลิตผลของชาวเขามาใส่กระป๋องแล้วขาย  ก็ได้ผล  เพราะเป็นโรงงานเล็กๆ  แต่โรงงานเขาลงทุนเป็นล้าน  รู้สึกเสี่ยง  เขาบอกว่าเขาต้องทำอย่างนั้น  เขาก็ลงทุน  ทำไปทำมา  สับปะรดที่บ้านบึงและชลบุรีมีไม่พอ ก็ต้องไปซื้อสับปะรดจากปราณบุรี  ต้องขนส่งมาด้วย
n>  เสียค่าใช้จ่ายมาก  ทำไปทำมาโรงงานก็ล้มอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า  ทำโครงการอะไรต้องให้นึกถึงขนาดที่เหมาะสมที่เรียกว่าอัตภาพหรือกับสิ่งแวดล้อม       นี่พูดไปพูดมายังคิดถึงอีกรายที่ลำพูน  มีการตั้งโรงงานสำหรับแช่แข็งผลผลิตของชาวไร่  ได้ไปเยี่ยม แล้วเขาบ่นว่า  คุณภาพของข้าวโพดที่ใส่กระป๋องสำหรับแช่แข็งคุณภาพไม่ค่อยดี  เขาบอกว่าจะซื้อในราคาแพงไม่ได้  ตอนนั้นไม่ทราบว่าเขาจะมีอันเป็นอย่างไร  ได้แค่บอกเขาว่า  น่าจะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวโพด ให้ได้ข้าวโพดที่คุณภาพดี  โรงงานจะเจริญ  เขาบอกว่าไม่ได้  เพราะคุณภาพไม่ดี  อันนี้เป็นปัญหาโลกแตก  ถ้าไม่ให้ราคาดี  หรือไม่สนับสนุนเกษตรกรก็ทำให้ข้าวโพดคุณภาพดีไม่ได้       เรื่องนี้ตอนแรกอาจดูเหมือนขาดทุน  ดูจะไม่ได้ประโยชน์  จะไม่ได้คุณภาพจะได้ข้าวโพดที่ฟันหลอซึ่งเขาบอกเขาต้องทิ้ง  เพราะเครื่องจักรของเขาต้องมีขนาดข้าวโพดที่เหมาะสม  เมื่อเป็นอย่างนั้น ความจริงไม่ได้แช่งเขา แต่นึกในใจว่าโรงงานอยู่ไม่ได้ และในที่สุดก็จริง ๆ ก็ล้ม  อาคารอะไรต่างๆ  ยังอยู่ เดี๋ยวนี้  แต่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ  เกะกะอยู่อย่างนั้น  ฉะนั้นจะทำโครงการอะไร   จะต้องทำด้วยความรอบคอบและอย่าตาโตเกินไป
      ข้อสำคัญอยากจะพูดถึงว่า  ถ้าหากว่าเราทำโครงการที่เหมาะสม  ขนาดที่เหมาะสม  อาจจะดูไม่หรูหรา  แต่ว่าจะไม่ล้ม  หรือถ้าล้มถ้ามีอันตรายไปก็ไม่เสี่ยงมาก  เช่น  โรงงานผลไม้บรรจุกระป๋องที่ริเริ่มทำที่อำเภอฝางนั้น  วันหนึ่งเขาติดต่อมาบอกว่าน้ำท่วม  น้ำจากเขาลงมาพัดโรงงานเสียหายเลยบอกว่าไม่เป็นไร  จะสนับสนุนเงินเพิ่มเติม  เพราะที่ดินตรงนั้นซื้อแล้ว  เครื่องมือเครื่องใช้ ก็สนับสนุนเขาอีก 400,000 บาท  ก็ตั้งขึ้นมาใหม่ ต่อไปก็ใช้งานได้มีกำไร  อันนี้หลายปีแล้ว..
      จากพระราชดำรัสดังกล่าว  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีตัวอย่างเป็นรูปธรรมที่สามารถนำมาประยุกต์กับอุตสาหกรรมได้   ดังนั้น พระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงนั้น  สามารถใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับกิจการสาขาต่างๆ  ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต  
      “เศรษฐกิจพอเพียง”  เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า  25 ปี  ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น  และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ทศพิธราชธรรม  นำพาให้สุขสม
       ทุกครั้งที่ชมข่าวในพระราชสำนัก  เราคนไทยทุกคนตระหนักดีในพระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีต่อพสกนิกรโดยเฉพาะในวันที่  4 ธันวาคม ทุกๆ ปี พระองค์จะทรงพระราชทานพระบรมราโชวาทให้ข้อคิดสอนใจคนไทย  จะเห็นได้ว่า  พระองค์ทรงมีเมตตาธรรม พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติ เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม 10 ประการ หรือที่เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ดังนี้
      1.  การมีน้ำใจ การให้ (ทาน) ช่วยเหลือผู้ที่ด้อยกว่า อ่อนแอกว่า
      2.  การตั้งอยู่ในศีล (ศีล) มีความประพฤติที่ดีงาม
      3.  การบริจาค (ปริจาคะ) การเสียสละความสุขเพื่อประโยชน์สุขของหมู่คณะ
      4.  ความซื่อตรง (อาชชวะ) ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
      5.  ความอ่อนโยน (มัททวะ) มีกิริยาสุภาพ สง่างาม
      6.  ความเพียร (ตปะ) มีความเพียรพยายามในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
      7.  ความไม่โกรธ (อักโกธะ) จิตที่มั่นคงไม่ฉุนเฉียว
      8.  ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) ไม่ข่มเหงน้ำใจผู้อื่น
      9.  ความอดทน (ขันติ) สามารถเผชิญกับความยากลำบากอย่างเข้มแข็ง
     10.  การตั้งมั่นในธรรม (อวิโรธนะ) ประพฤติอยู่ในความดีงามเสมอต้นเสมอปลาย
              จากคุณธรรมที่ทรงประกาศว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรชาวสยาม”  พระองค์จึงทรงเป็นพ่อของแผ่นดินที่สถิตอยู่ในดวงใจคนไทยทุกคน โครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ดำเนินการในการแก้ไขปัญหามีอยู่มากมาย   เช่น โครงการฝนหลวงเป็นโครงการที่แก้ไขปัญหาภัยแล้งโดยอาศัยเทคโนโลยีทำฝนหลวงหรือฝนเทียม โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์เป็นโครงการที่พระราชทานข้อแนะนำ  และแนวพระราชดำริให้เอกชนไปดำเนินการโครงการพระราชดำริเป็นโครงการที่ทรงวางแผนพัฒนา ทรงเสนอแนะให้รัฐบาลดำเนินการ หรือเรียกว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  เช่น โครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ในพื้นที่ตำบลสมเด็จเจริญ  อำเภอหนองปรือ  จังหวัดกาญจนบุรี


รูปที่ 4 ตัวอย่างของเศรษฐกิจพอเพียง
                                                                                                                 ที่มา : ครูสุรนาถ ปูชนียพงศก


ปวงชนสุขล้นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
       เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนทุกคน  ไม่ใช่เป็นเรื่องของเกษตรกร  ไม่ใช่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตและการค้า  แต่เป็นเรื่องของการดำเนินชีวิตตามปกติของคนในสังคม  คนไทยโชคดีที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เข้มแข็งเปี่ยมล้นด้วยทศพิธราชธรรม  การพัฒนาประเทศไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลเพียงอย่างเดียว  คนไทยทุกคนต้องมีส่วนร่วมในวิกฤติการณ์น้ำมันที่มีราคาแพง  สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาสูง  ภาวะเงินเฟ้อเพิ่มมากขึ้น  มาตรการหลายๆ  อย่างที่ภาครัฐได้ดำเนินการ  แต่ไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งเป็นการปรับวิธีคิด  วิธีการดำเนินชีวิตใหม่ให้คนไทยได้ตระหนักและภาคภูมิใจในภูมิปัญญาไทย
      การที่เราคิดได้  ทำได้  เข้าใจปัญหาที่แท้จริง  เช่น  น้ำมันแพง  ถ้าใช้มาตรการประหยัดอย่างเดียวจะประสบความสำเร็จน้อย  แต่ถ้าใช้แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง  คือ  พอมี  พอกิน  เราจะใช้รถยนต์ให้คุ้มค่ากับความจำเป็นให้มากที่สุด  ขณะเดียวกันก็คิดหาพลังงานทดแทนที่มีต้นทุนราคาถูกมาทดแทนประชาชนคนไทยทุกคนมีหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี  การเกิดบนผืนแผ่นดินไทยภายใต้ร่มพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เราพูดเสมอว่า  เรารักในหลวง  ดังนั้น  ควรที่จะทำในสิ่งที่พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้เศรษฐกิจพอเพียง .. เลี้ยงคนไทยให้ยั่งยืน
      เราจะทำหน้าที่กันอย่างไรบ้าง ข้อเสนอแนะต่อไปนี้เป็นแนวทางที่จะบอกว่า   เราเป็นข้าของแผ่นดินเราจะทดแทนคุณแผ่นดินและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ท่านทรงเมตตาต่อพสกนิกรชาวไทย   ดังนี้
      1.  นักเรียนสามารถดำเนินชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงได้  เช่น  มีความขยัน  ประหยัด  ซื่อสัตย์  มีความรับผิดชอบ  ขยันหมั่นเพียรในการเรียน  เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างรู้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  เธอทั้งหลายเป็นพลังของแผ่นดิน  ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นไม่เอาเปรียบสังคม  ไม่เห็นแก่ตัว  สร้างความเดือดร้อนให้กับสังคม  มีความรับผิดชอบในสถานภาพและบทบาทของตนเอง  การเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่  เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์  เป็นเพื่อนที่ดีและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  การให้ความร่วมมือเป็นสิ่งที่จำเป็น  เพราะปัญหาของสังคมรอการแก้ไขมากมายหลายเรื่องจึงเป็นหน้าที่ของทุกคน
       2.  ข้าราชการเป็นกลไกที่สำคัญที่ขับเคลื่อนการพัฒนาไปสู่ประชาชน  ข้าราชการ  หมายถึง  ผู้รับใช้พระราชา  ทำอย่างไรให้ประชาชนอุ่นใจ  เป็นที่พึ่งของประชาชน  ความซื่อสัตย์สุจิต  ความเสียสละและความรับผิดชอบ  เป็นสิ่งที่ประชาชนปรารถนามากที่สุด  การฉ้อราษฎร์บังหลวงประเทศชาติต้องสูญเสียเงินงบประมาณซึ่งเป็นภาษีอากรของประชาชนเป็นจำนวนมาก  ทำให้การพัฒนาประเทศไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรจะเป็น  การดำเนินชีวิตพอมีพอกินตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านทรงเป็นแบบอย่างที่ชัดเจนที่สุด  พระองค์ท่านทรงงานหนักมากในพระราชกรณียกิจแต่ละวันเป็นที่ประจักษ์
      3.  นักธุรกิจ  จะต้องดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ  ไม่เอารัดเปรียบไม่ดำเนินธุรกิจในทางที่ไม่ถูกต้อง  ไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์  ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคในภาวะเศรษฐกิจที่ต้องการความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ  นักธุรกิจไทยต้องเอาใจใส่ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
      4.  เกษตรกร  จะต้องปรับวิธีการดำเนินชีวิต  มีวินัยในการใช้จ่าย  รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง  พัฒนาตนเอง  พึ่งพาตนเองให้มากที่สุด  ภูมิปัญญาไทย เป็นมรดกที่ตกทอดมาถึงลูกหลานไทย  ต้องใส่ใจที่จะดูแล และสานต่อ  แนวพระราชดำริทฤษฏีใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงให้แนวทางในการบริหารและจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ  สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัว  ตามปรัชญาชีวิตที่ว่า กินอิ่ม นอนอุ่น  อดออม  เอื้ออาทรแก่กัน”  เมื่อนั้น  สังคมจะมีแต่ความผาสุก  เป็นสังคมที่เข้มแข็งตามแนวพระราชดำริ ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง... เลี้ยงคนไทยให้ยั่งยืน
การนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน (จากข้อความของ ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์)
      กฎเบื้องต้นของเศรษฐศาสตร์ก็คือ เราเชื่อว่าทรัพยากรที่มีอยู่ในโลกมีอยู่จำกัด แต่มนุษย์เรามีความต้องการที่ไม่จำกัด ดังนั้นเศรษฐศาสตร์ ก็คือศาสตร์ ที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า และสอดคล้องตามความต้องการของมนุษย์ให้มากที่สุด แต่ปัจจุบัน โลกมันวุ่นวาย เพราะมีบางกลุ่มบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มีประชากรแค่ 200 ล้านคน แต่ใช้ทรัพยากรของโลก ไปเกิน 95% เป็นต้น 
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

      อธิบายสั้นๆ ก็คือการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างพอดี ไม่น้อย หรือไม่มากเกินไป ไม่เกินตัว ทรัพยากรที่พูดถึงคือ    ยกตัวอย่างง่ายๆ และ ใกล้ตัวเราที่สุดก็คือ  เงิน   คือให้ใช้เงินให้เป็น และรู้จักออม ถ้านำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้กับการใช้เงินของเราเพื่อช่วยเหลือชาติแบบง่ายๆ ก็จะทำได้ดังนี้
แนวทางปฏิบัติ

 •  รู้จักใช้เงินในการเลือกรับประทานอาหารในราคาที่ควรจะเป็น เช่น ไก่ทอด KFC กับไก่ทอดของไทยตามร้านทั่วๆ ไป จริงอยู่ว่ามันเป็นไก่ทอดเหมือนกัน ขนาดก็เท่ากัน แต่ราคามันห่างกันลิบ ทานไก่ KFC แล้วทำให้เงินมันเหลือน้อยกว่าทานไก่ทอดธรรมดา ทำให้เหลือเงินไปซื้อของใช้จำเป็นอื่นๆ น้อยลงไปอีก เหลือเงินออมน้อยลง เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาชีวิตก็ลำบาก และเป็นทุกข์ ในและมีผลกระทบในภาพรวมคือถ้าทุกคนกินแต่ไก่ KFC เงินออมของทั้งระบบก็จะน้อยลง ทำให้การขยายการลงทุนในประเทศก็จะทำได้ยาก    เนื่องจากเงินออมในธนาคารมีน้อยไม่พอให้ระดมทุน ต้องไปกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเข้ามาอีก ประเทศก็ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เงินบาทก็จะอ่อนค่าลงตามทฤษฎี อีกอย่างกินไก่ KFC 100 บาท เงินเข้าคนไทย 30 บาท เข้ากระเป๋าฝรั่งไป 70 บาท ซึ่งเป็นค่าลิขสิทธิ์ เงินไหลออกนอกประเทศอีก 
      •  เลือกใช้ของที่ต้องการในราคาพอเหมาะ เช่น รถยนต์ เป็นตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุด ระหว่างรถเบนซ์ กับรถญี่ปุ่นที่ผลิตในประเทศไทยซึ่งเป็นรถยนต์เหมือนกัน วิ่งได้เหมือนกัน แต่คนส่วนใหญ่อยากจะเลือกรถเบนซ์ เพราะแสดงสถานะทางสังคมว่าเรามีเงิน แต่หลายคนคงจะทราบว่ารถยนต์เป็นสินทรัพย์ที่เสื่อมมูลค่าลงทุกวันตามสัดส่วนเวลา และมีอายุการใช้งาน ดังนั้น ณ วันที่เราขายรถยนต์ ราคาของรถยนต์ราคาแพงก็จะมีมูลค่าลดลงมากกว่า ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าบำรุงรักษาและค่าซ่อม ที่หลายคนใช้รถแพงๆ ตระกูลยุโรปก็โดนศูนย์บริการปล้นแบบไม่ปราณี เพราะช่างซ่อมชาวบ้านทั่วไปก็ซ่อมไม่ได้ ต้องเข้าศูนย์เฉพาะเพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ผลิตในต่างประเทศเท่านั้น หลายคนยังคงไม่ทราบว่าประชาชนในประเทศที่เราเห่อรถแพงๆ ของเขา เขากลับไม่เห็นความสำคัญของการแสดงสถานะทางสังคมด้วยรถยนต์เท่ากับบ้านเรา แต่เลือกใช้รถยนต์ที่คุ้มค่าในราคาเหมาะสม ผลกระทบอื่นๆ ก็จะคล้ายๆ กับข้อ 1 เราก็ลองคิดนะว่าซื้อรถเบนซ์มาขับกับซื้อรถผลิตในประเทศแล้ว โดยภาพรวมคนไทยจะได้ประโยชน์จากเงินที่เราจ่ายมากน้อยต่างกันเพียงใด สินค้าหลายอย่างมันแพงเกินราคาก็เพราะเราจ่ายค่าทรัพย์สินทางปัญญา หรือค่าลิขสิทธิ์มากกว่าต้นทุนของสินค้าเองซะอีก


รูปที่ 5 ตัวอย่างของเศรษฐกิจพอเพียง
                                                                                                               ที่มา : ครูสุรนาถ ปูชนียพงศก

       บริโภคสินค้าด้วยเงินออม เราจะเห็นว่าคนในบ้านเรากลับไปบริโภคสินค้าด้วยเงินกู้ เช่น กู้เงินไปซื้อโทรทัศน์ มือถือ กระเป๋าหลุยส์ ฯลฯ แล้วสิ้นเดือนก็ต้องมาเป็นทุกข์ผ่อนชำระกันศีรษะโตเป็นแถบ ลักษณะนิสัยแบบนี้เรียกว่าใช้เงินกันเกินตัว ซึ่งกำลังเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นมะเร็งร้าย ที่กำลังจะลามทำให้เศรษฐกิจอเมริกา ระเบิดในอีกไม่ช้านี้ หลักการคือเราต้องเข้าใจก่อนว่า การบริโภคกับการลงทุนนั้นต่างกัน เช่น ถ้าท่านซื้อมือถือมา เพื่อมาใช้ในวิชาชีพแล้ว มันจะทำเงินกลับมาให้ท่าน นั่นเรียกว่าเป็นการลงทุน แต่ถ้าท่านไม่มีกิจอันใดที่จะใช้ แต่ซื้อมาเพราะว่าคนอื่นเขาก็มีกัน อันนั้นก็เรียกว่าการบริโภค อะไรที่เป็นการลงทุน มันย่อมมีผลตอบแทนคืนมา (แม้ว่าจะสินค้านั้นจะมีมูลค่าเสื่อมถอยทุกวัน) แต่การบริโภคนั้น สินค้าที่ท่านซื้อมาบริโภคมันก็จะมีค่าเสื่อมถอยลงทุกวัน โดยไม่มีผลตอบแทนคืนมา ถ้าท่านบริโภคสินค้าด้วยเงินกู้กันเยอะๆ  ทั้งประเทศมันก็จะมีผลกระทบ ทำให้ท่านไม่สามารถจะมีเงินไปลงทุนได้ เพราะเงินกู้ของท่าน ที่สามารถจะกู้ไปลงทุน ได้ถูกจัดลงในโควต้าของเงิน ที่ท่านกู้ออกมาบริโภคไปแล้ว ท้ายสุด ก็ต้องไปกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ เข้ามาอีก ประเทศก็ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เงินบาทก็จะอ่อนค่าลงตามทฤษฎี 
      •  ใช้เงินในสิ่งที่มีประโยชน์เป็นรูปธรรมเท่านั้น ตัวอย่างที่จะยกได้ง่ายๆ คือ การส่ง SMS เข้ารายการโทรทัศน์ต่างๆ เท่าที่ทราบ มีแต่ประเทศกำลังพัฒนา และประชาชนไม่มีความคิดเท่านั้น ที่จะนิยมส่ง SMS เข้ารายการโทรทัศน์ มากมายแบบประเทศไทย อย่างเรานั่งดูโทรทัศน์ เราก็สงสัยว่าคนที่ส่ง SMS เข้าไปจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง สรุปก็คือได้แต่ความสะใจ ไม่มีประโยชน์ในทางรูปธรรมอะไรเลย บางคนส่ง SMS เดือนนึงหลายหมื่นบาท แต่ไม่รู้ว่าส่งไปทำไม ซึ่งเป็นการใช้เงินที่ควรจะออมอย่างไม่ถูกเรื่องเท่าไหร่นัก ซึ่งจริงๆ เราคิดว่า คณะกรรมการ กสช. ควรจะเข้ามากำกับดูแลในส่วนนี้อย่างจริงจัง เพื่อผลประโยชน์ของคนในชาติ
      ส่งเสริมการซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศ ซึ่งคนไทยเราอาจจะมีจิตสำนึก ในเรื่องนี้ค่อนข้างน้อยไปบ้าง หากท่านสังเกตุว่าทำไมหลายๆ ชาติที่เจริญ มักจะเป็นชาติที่มีความเป็นชาตินิยมสูงมาก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน จีน ทั้งนี้ เนื่องมาจากสินค้าแบบเดียวกัน คนในชาตินั้นจะเลือกซื้อสินค้า ที่ผลิตในประเทศของเขาก่อน ทำให้สินค้าที่ผลิตในประเทศ ได้มีโอกาสทดลองตลาด ปรับปรุงสินค้า และสะสมเงินทุน ไปทำเรื่อง R&D ต่อยอดไปได้ แต่ถ้าคนไทย เรานิยมซื้อของต่างชาติ มากกว่าของที่ผลิตในประเทศ เงินก็จะไหลออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก เหมือนน้ำที่แห้งเหือดไปจากสระน้ำ แทนที่คนไทยจะได้ประโยชน์จาก Multiplier Effect หรือตัวคูณของการใช้เงินต่อไปเป็นทอดๆ ในระบบเศรษฐกิจของเราเอง แต่เงินกลับไหลออกนอกประเทศ คนไทยก็ได้แต่ค่าแรงในการขายของเท่านั้น สินค้ายี่ห้อดังๆ ของโลก เช่น LG, Samsung, Haier, TCL, Huawei ก็โตมาจากตลาดในประเทศก่อนทั้งนั้นไม่มีใครกระโดดออกไปนอกประเทศแล้วโตเลย อย่างของไทยสมัยก่อนก็มีโทรทัศน์ยี่ห้อธานินทร์ แต่ตอนนี้ก็หายไปจากตลาดแล้ว เพราะคนไทยไม่สนับสนุน
      •งดอบายมุข อันนี้ง่ายที่สุด แต่เป็นปัญหาที่ฝังลงรากลึกสุดของสังคมไทย เพราะหวยทั้งบนดิน ใต้ดิน มันโผล่ออกมยุบยับมาก ขนาดจะดูฟุตบอลโลก หนังสือพิมพ์บ้านเราก็ยังมีราคาต่อรองให้อีก คือไม่ว่าจะเป็นอบายมุขประเภทไหน ก็ทำให้เราไม่มีเงินออมทั้งนั้น พอไม่มีเงินออม ท้ายสุดก็ต้องพึ่งเงินกู้มาบริโภคกันอีก
      •รู้จักลงทุนในสิ่งที่มีประโยชน์ และได้ความรู้ เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ห้ามให้เราไม่ใช้เงิน เพียงแต่ว่าใช้เงินให้เกิดประโยชน์กับตัวเรา เช่น การลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม การลงทุนเพื่อให้เกิดความรู้เพิ่มขึ้น จากการซื้อหนังสือที่มีประโยชน์มาอ่าน ไปฟังสัมมนา ไปทัศนาจร ไปดูงาน ฯลฯ กล่าวโดยสรุป การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในชีวิตประจำวันของเรา จะทำให้เราสามารถใช้เงินอย่างคุ้มค่า มีเงินออม เหลือเก็บไว้ใช้ในการบริโภคสิ่งที่จำเป็น ไม่มีภาระหนี้สินที่ไม่จำเป็น เงินออมทั้งระบบ ก็จะเพียงพอต่อการระดมทุน เพื่อการลงทุนในประเทศ ไม่ต้องพึ่งพิงเงินตราต่างประเทศ ที่เข้าเร็วออกเร็ว แบบที่เราเรียกว่า Hot Money ประเทศก็จะมีเงิน ไม่ต้องขาดดุลบัญชีเดินสะพัดกันแบบสมัยฟองสบู่ ค่าเงินบาทก็จะไม่อ่อน เศรษฐกิจในประเทศก็จะแข็งแกร่ง ไม่ต้องมาปวดหัวเถียงกันเรื่องจะขึ้นหรือไม่ขึ้นดอกเบี้ย เพราะอเมริกาจะขึ้นดอกเบี้ย และกลัวเงินจะเฟ้อคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นหมายถึงความพอดีด้วยนะ ไม่ได้ห้ามกู้หนี้มาลงทุนแต่อย่างใด ตราบใดที่กู้หนี้ยืมสินแล้วมาลงทุน แต่การลงทุนนั้นยังสามารถให้ผลตอบแทนที่มีความเป็นไปได้ว่าจะชำระหนี้ได้ก็ถือว่าพอเพียง  แต่ถ้าสมมติว่าเราไปกู้ธนาคารมาทำโปรเจ็กแบบสมัยก่อนประเทศไทยเกิดวิกฤติปี 2540 แล้วมีการจ่ายเงินปากถุงให้กับทีมวิเคราะห์ของธนาคาร (สมมติ) เพื่อให้ตีมูลค่าโปรเจ็กมากๆ แล้วให้ปล่อยกู้เงินมากๆ เกินกว่าที่ผลตอบแทนการลงทุนจะได้ ท้ายสุดถ้าในความเป็นจริงมันไม่เวิร์ค โปรเจ็กก็ล่ม ธนาคารก็มี NPL คนฝากเงินก็รับเคราะห์ รัฐบาลต้องเข้ามากู้เรือล่ม ก็เดือดร้อนเงินภาษีของเราอีก  ซึ่งจากข้างต้นคำว่าพอเพียงกับความต้องการประสบความสำเร็จมันคงเป็นคนละเรื่องกัน สมมติว่าเราต้องการประสบความสำเร็จในทางธุรกิจ และมีความทะเยอทะยาน เราก็ต้องดำเนินการแบบพอเพียง คือไม่ใช้วิธีแบบทำธุรกิจเกินตัว แล้วเราไม่สามารถใช้หนี้ได้ ซึ่งโดยสรุปเศรษฐกิจแบบพอเพียงนั้นจะหมายถึงวิธีการ และแนวคิดอันที่จะได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ ว่ามันเกินตัว และถูกต้องตามครรลองหรือไม่ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ Incentive ที่จะลงทุนแต่อย่างใด จะลงทุนมากน้อยก็อยู่ที่วิธีการว่าเป็นการดำเนินการที่เกินตัวหรือไม่   ประเทศไทยเราโชคดีจริงๆที่มีพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงอัจฉริยะภาพ พระราชทานแนวคิด การใช้ชีวิต ที่เป็นทางสายกลางให้กับพวกเราทุกคน และเป็นกุญแจ ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ทุกยุคทุกสมัย ซึ่งรัฐบาล ควรจะขยายแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนี้ เข้าสู่หลักคิดของคนในชาติ ให้มากที่สุด  ยิ่งถ้าทุกคนในโลกยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ก็จะไม่มีการเบียดเบียนทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด เอารัดเอาเปรียบ คนหรือประเทศที่ด้อยกว่าแบบทุกวันนี้
  ทีมา :  http://krusuranart.com/index.php/2011-11-24-13-43-57/2011-12-01-17-46-59

เศรษฐกิจพอเพียงกับการงานอาชีพ
    สรุปเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า  25  ปี  ตั้งแร่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ  พ.ศ. 2540  และภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น  และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
     เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่  และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับครอบครัว  ระดับชุมชน  จนถึงระดับรัฐ  ทั้งในการพัฒนาบริหารประเทศให้ดำเนินไป ในทางสายกลาง”  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวหน้าต่อยุคโลกาภิวัตน์
      ทางสายกลาง  หมายถึง  เส้นทางการดำเนินชีวิตของมนุษย์และสังคมที่ถูกต้องเหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นจริงตามกฎธรรมชาติที่มีอยู่เป็นอยู่  ทั้งที่ตัวมนุษย์  และรอบๆ  ตัวมนุษย์

หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  พิจารณาได้ดังนี้
       คุณลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ  โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง  และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับธุรกิจ
    ธุรกิจพอเพียง หมายถึง  ">การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความมั่นคงและยั่งยืนมากกว่าการแสวงหาผลประโยชน์ในระยะสั้น >ดังนั้น
  จึงต้องมีความรอบรู้ในธุรกิจที่ตนดำเนินการอยู่ ">และศึกษาข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา  เพื่อให้สามารถก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  ">มีความรอบคอบในการตัดสินใจในแต่ละครั้ง  เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดต่างๆ  >ไม่ให้เกิดขึ้น  และต้องมีคุณธรรมคือมีความซื่อสัตย์สุจริตในการประกอบอาชีพ  >ไม่ผลิตหรือขายสินค้าที่ก่อให้เกิดโทษหรือสร้างปัญหาให้กับคนในสังคมและสิ่งแวดล้อม  >มีความขยันหมั่นเพียร  อดทนในการพัฒนาธุรกิจไม่ให้มีความบกพร่อง >และก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต  >การปรับปรุงสินค้าและคุณภาพให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีใหม่ๆ  >และในขณะเดียวกันต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม  และระบบนิเวศวิทยาทุกขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ  โดยการรักษาสมดุลในการแบ่งปันผลประโยชน์ของธุรกิจในระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ  >อย่างสมเหตุสมผล  ตั้งแต่ผู้บริโภค  >พนักงาน  บริษัทคู่ค้า  ผู้ถือหุ้น  และสังคมวงกว้างรวมถึงสิ่งแวดล้อม
การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียง
     การดำเนินชีวิตในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการประกอบอาชีพตามทรัพยากรที่มีอยู่โดยอาศัยความรู้ ">ความสามารถ  เพื่อให้เกิด   >ความพอเพียงในลักษณะพออยู่พอกิน
  ก่อให้เกิดความสุขสบายภายในครอบครัว  >หากเหลือจากการดำรงชีพสามารถนำไปขาย  เพื่อเป็นรายได้และเก็บออมเป็นเงินทุนต่อไป  การประกอบอาชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียงสามารถทำได้ดังนี้
1. ทำไร่ทำนาสวนผสมผสาน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นเศรษฐกิจพอเพียง
2. ปลูกผักสวนครัว เพื่อลดรายจ่ายด้านอาหารในครอบครัว
3. ใช้ปุ๋ยคอก และทำปุ๋ยหมักใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี เพื่อลดรายจ่ายและช่วยปรับปรุงบำรุงดิน
4. เพาะปลูกเห็ดฟางจากฟางข้าและเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นา
5. ปลูกผลไม้ในสวนหลังบ้านและปลูกต้นไม้ใช้สอย
6. ปลูกพืชสมุนไพรช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย
7. เลี้ยงปลาในร่องสวน ในนาข้าวและสระน้ำ เพื่อเป็นอาหารและรายได้เสริม
8. เลี้ยงไก่พื้นเมืองและไก่ไข่ เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริมโดยใช้ข้าวเปลือกรำปลายข้าวจากการทำนา  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกพืชไร่  พืชผักจากการปลูกในสวน
9. ทำก๊าชชีวภาพจากมูลสุกร หรือวัว เพื่อใช้เป็นพลังงานในครัวเรือน
10. ทำสารสกัดชีวภาพจากเศษพืชผักผลไม้ และพืชสมุนไพรที่ใช้ในไร่นา
  ทีมา :  http://krusuranart.com/index.php/2011-11-24-13-43-57/2011-12-13-06-19-54